น้องเหมียวที่บ้านที่เพื่อนๆ เห็นว่าใช้ชีวิตอย่างแสนสบาย นิ่งๆ ไม่สนใจใคร จริงๆแล้วน้องแมวก็ซ่อนความเครียดเอาไว้ไม่น้อยเลย
ความเครียดส่วนมากมักมีผลเสียกับร่างกาย ความเครียดของน้องแมวจะเกิดเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวันที่ต่างจากการใช้ชีวิตประจำวันแบบเดิมๆ อย่างเช่น การเผชิญหน้ากับคนแปลกหน้า หรือสัตว์อื่นๆ ที่ไม่เคยพบ รวมทั้งสถานการณ์ที่เป็นอันตราย หรือแม้แต่การใช้ชีวิตประจำวันที่ซ้ำซากจำเจ ก็สามารถทำให้น้องแมวเครียดได้เช่นกัน ซึ่งเมื่อน้องแมวเกิดความเครียดขึ้น ร่างกายจะกระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมนความเครียด ซึ่งเจ้าฮอร์โมนเหล่านี้จะเร่งอัตราการเต้นของหัวใจ ความดัน รวมทั้งน้ำตาลในเลือด ก็เพื่อให้น้องแมวมีร่างกายที่พร้อมที่จะต่อสู้นั่นเอง โดยความเครียดที่เกิดระยะเวลาสั้นๆ มักจะไม่ส่งผลที่เป็นอันตราย แต่ถ้าเกิดเครียดเป็นระยะนานและต่อเนื่อง การกระตุ้นร่างกายก็จะยาวนานไปด้วย ย่อมเกิดผลเสียกับร่างกายของน้องแมวแน่นอน
สาเหตุที่ทำให้น้องแมวเครียดก็มีหลากหลายสาเหตุ ซึ่งวันนี้ทาง VAC ได้รวบรวม 5 สาเหตุยอดนิยม ที่ทำให้น้องแมวเครียดมาฝากกัน เพื่อให้เพื่อนๆ รับมือและหาทางแก้ได้อย่างเหมาะสมต่อไปค่า
น้องแมวเป็นสัตว์ที่หวงอาณาเขต ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายในบ้านจึงทำให้น้องแมวรู้สึกไม่ปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นการจัดหรือการเพิ่มเฟอร์นิเจอร์ใหม่ การปรับปรุงเพิ่มเติมบ้าน หรือแม้แต่บ้านที่รกขึ้นเองก็ตาม ก็สามารถทำให้น้องแมวเกิดความเครียดได้เช่นกันค่ะ
ดังนั้นเมื่อไรก็ตามที่เพื่อนๆ ต้องการจะเปลี่ยนแปลงการจัดบ้าน สิ่งที่ต้องระมัดระวังมากที่สุดคือตำแหน่งของจุดที่ให้น้ำให้อาหาร ที่นอนของน้องแมว กระบะทรายน้องแมว รวมถึงแหล่งหลบภัยของเค้าอย่างกล่องใบเล็กๆ นั้นไม่ควรถูกขยับออกจากจุดเดิม หรือไม่ควรมีสิ่งกีดขวางมาบังไม่ให้น้องแมวเดินทางไปยังจุดที่เค้าคุ้นชินแม้แต่น้อย เนื่องจากการเคลื่อนย้ายของของเค้า หรือแม้แต่การปิดทางเข้าสู่ของพวกนั้น สามารถสร้างความรู้สึกไม่ปลอดภัย จนกลายเป็นสาเหตุของความเครียดได้ค่ะ
การถูกย้ายไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่ที่น้องแมวไม่สามารถคาดเดาอาจนำไปสู่ความเครียดได้ เนื่องจากน้องแมวเป็นสัตว์นักล่า และโดยวิสัยของนักล่าแล้วน้องแมวย่อมระมัดระวังและต้องคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ ดังนั้นหากเพื่อนๆ มีความจำเป็นจะต้องย้ายบ้าน ลองทำตามข้อแนะนำพวกนี้ดูนะคะ
ปกติแมวมักสร้างอาณาเขตด้วย “กลิ่น” ซึ่งเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สำคัญภายในฝูง ซึ่งกลิ่นที่ไม่คุ้นเคยอาจถูกตีความว่าเป็นการลุกล้ำอาณาเขตของน้องแมว และสร้างความเครียดได้ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นแมวตัวใหม่ สุนัข เด็กทารก หรือแม้แต่คู่รักของเราอาจจะเป็นตัวกระตุ้นความวิตกกังวลของน้องแมวเช่นกัน อันที่จริงแค่แขกที่แวะมาเยี่ยม หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยงที่เข้ามาชั่วคราวก็เป็นสาเหตุของความเครียดได้แล้วค่ะ
การสูญเสียหรือการหายไปของใครบางคน (หรือบางตัว) นั้นยากเสมอสำหรับน้องแมว เหมือนๆ กับมนุษย์นั่นแหละค่ะ ในวันที่มีสมาชิกในครอบครัวตายจากกันไป หรือแม้แต่ย้ายออกไปอยู่ที่ใหม่ เหตุการณ์เหล่านี้อาจจะทำให้เจ้าเหมียวของเราต้องประสบปัญหาความเครียดได้
เราสามารถเยียวยาน้องแมวได้ด้วยการเพิ่มกิจกรรมนอกบ้านหรือในสถานที่ใหม่ๆ โดยไม่บังคับเค้าจนมากเกินไปเพื่อให้บรรยากาศนั้นช่วยบรรเทาความเครียดของเค้าลงนั่นเองค่ะ
โดยธรรมชาติแล้วน้องแมวชอบสืบเสาะตามรอยเสียงแปลกๆ แต่ถ้าหากได้ยินเสียงแปลกๆ อย่างต่อเนื่อง เช่นเสียงดนตรีดังๆ เสียงโทรทัศน์ หรือเสียงของสัตว์เลี้ยงตัวอื่น อาจทำให้น้องแมวของเราตกกังวลได้ ถ้าเค้าดูเริ่มเครียดแล้ว ลองหรี่เสียงลงดูก็เป็นวิธีที่ช่วยได้มากค่ะ
เมื่อน้องแมวเกิดความเครียด มักจะพฤติกรรมที่แตกต่างจากเดิม เช่น การอยู่ไม่สุข การร้องเสียงดัง อาการสั่น ทำเสียงขู่ แมวบางตัวจะไปหาที่ซ่อนตัว หรือแสดงออกแบบผิดธรรมชาติของน้องแมว เช่น การเลียทำความสะอาดตัวเองมากเกินไป ซึ่งเป็นพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำในสัตว์ ที่เบื่อจนเกินไปหรือเครียดจนเกินไป เลียจนทำให้ขนร่วงเยอะและผิวหนังมีปัญหาอักเสบติดเชื้อ ตามมา การเคี้ยวปากจนน้ำลายยืด หรือทำลายข้าวของ ข่วนเฟอร์นิเจอร์ รองเท้า หมอน ผนัง ประตู หรือสิ่งของอื่นๆ การฉี่ไม่เป็นที่ หรือฉี่นอกกระบะทราย ไม่กินอาหาร ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอาการแสดงออกของแมวที่กำลังเครียดอยู่ ซึ่งถ้าปล่อยให้แมวเครียดหนักๆ นาน ๆ อาจทำให้แมวป่วยตามมาได้
การหมั่นสังเกตพฤติกรรมของน้องแมวอยู่เสมอ จะช่วยให้เราเข้าใจพฤติกรรมตามธรรมชาติของน้องแมว และแยกพฤติกรรมที่ผิดปกติได้ ซึ่งเมื่อพบว่าน้องแมวกำลังอยู่ในสภาวะเครียดเพื่อนๆ สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นความเครียดของน้องแมว ไปพร้อมกับการบรรเทาความเครียด โดยวิธีการมีดังต่อไปนี้ค่า
การจัดการกับความเครียดในน้องแมวทำได้ไม่ยาก เพียงแค่หมั่นสังเกต และแก้ไขก่อนที่ความเครียดนั้นจะส่งผลต่อสุขภาพของน้องแมวในอนาคตค่า
16 สิงหาคม 2565
ผู้ชม 47 ครั้ง